ลักษณะตัวละคร



นายประพันธ์ เป็นผู้นิยมวัฒนธรรมตะวันตกอย่างผิดๆ ซึ่งบางสิ่งไม่ถูกต้องตามธรรมเนียมของไทย อันเปรียบเหมือนการดูถูกบ้านเกิดเมืองนอน เช่น คำกล่าวที่ว่า “ อีกอย่างหนึ่งในเมืองไทยยังมีคนครึอยู่มาก ที่ชอบเก็บลูกสาวไม่ให้เห็นผู้ชาย ” ซึ่งที่จริงแล้วเป็นธรรมเนียมที่ดีของไทย ที่กุลสตรีที่ดีงามมักจะเก็บตัวอยู่แต่ในบ้าน เพื่อฝึกการบ้านการเรือน อีกประการก็มีจิตใจที่อ่อนไหวครั้งเมื่อเห็นจดหมายที่ส่งให้แก่แม่อุไรนั้น ถูกฉีกเป็นเศษเล็กเศษน้อยร่วงออกมา “ ฉันเทออกแล้วจึงจำได้ว่าเป็นจดหมายที่ฉันมีไปถึงแม่อุไรนั่นเอง ขอให้นึกเถิดว่าฉันสะดุ้งปานใด” ตั้งแต่ครั้งนั้นเองทำให้ประพันธ์เปลี่ยนทัศนคติใหม่ๆที่มีต่อสตรีไทย ทั้งยังเป็นห่วงเป็นใยเสียด้วยซ้ำ ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ดี ดังที่กล่าวว่า “ ถ้าเมื่อไรผู้หญิงไทยที่ดีๆ พร้อมใจกันตั้งกติกาไม่ยอมเป็นเมียคนที่เลี้ยงผู้หญิงไว้อย่างเลี้ยงไก่เป็นฝูงๆเท่านั้นแหละ ผู้ชายที่มักมากจักต้องเปลี่ยนความคิด และความประพฤติ”
แม่อุไร จากคำกล่าวของนายประพันธ์ที่ว่า “ขอบอกโดยย่อว่าหล่อนเป็นผู้หญิงที่งามที่สุดที่ฉันเคยได้พบในกรุงสยาม หล่อนคล้ายผู้หญิงฝรั่งมากกว่าผู้หญิงไทย” เห็นได้ว่าบุคลิกดูเป็นคนมั่นใจในตัวเอง กล้าคิดกล้าพูดแบบคนตะวันตก แต่หากกาลเวลาเปลี่ยนแปลงไปทำให้เห็นว่าคนเราสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมกันได้ตลอดเวลาตราบใดที่ยังไม่หมดลมหายใจ กิริยาดูหยาบกระด้าง ดูแคลน เห็นผิดเป็นชอบ ดังที่ว่า “เห็นว่าถ้าโกรธผัวได้ต่อหน้าคนเป็นเกียรติยศดี พูดจาต้องขู่ฟ่อๆ ราวกับแมวที่ดุเสมอ” และแสดงให้เห็นถึงกิริยามารยาทที่ไม่ใช่แบบแผนที่สุภาพเรียบร้อยของคนไทย “แม่อุไรเดินกระทืบตีนปังๆ ขึ้นไปถึงห้องรับแขก นั่งลงทำหน้ามู่ทู่ไม่พูดไม่จาอะไรเป็นครู่ใหญ่ๆ” อีกสิ่งหนึ่งคือ การที่ไม่รู้จักรักษานวลสงวนตัว ยอมทอดกายให้ชายถึงสองคน คือ นายประพันธ์ ทำให้ท้องก่อนแต่ง และพระยาตระเวนนคร ที่มีนางบำเรออยู่แล้วถึง ๗ คน ทำให้ผิดหวังในความรักซ้ำแล้วซ้ำเล่า
พระยาตระเวนนคร เป็นคนเจ้าชู้ประเภท เสือผู้หญิง ดังที่นายประพันธ์กล่าวไว้ว่า “ถ้าเห็นผู้หญิงสวยๆ และมีคนตอมจะต้องพยายามให้ได้หญิงคนนั้นจนได้ แต่ได้แล้วมักจะเบื่อ” ทั้งยังมีปัญญาที่เฉลียวฉลาด จากการที่ ยังไม่ยอมตกลงเป็นผัวเมียโดยราชการกับแม่อุไร ทำให้ไม่ต้องคอยพาแม่อุไรไปออกงานสังคมมากนัก จึงมีโอกาสที่จะพบปะกับหญิงใหม่ๆ ได้ตลอดเวลา
หลวงพิเศษผลพานิช เป็นพ่อค้าที่มั่งมี แต่มีความจริงใจ ดังคำที่ว่า “จริงอยู่หลวงพิเศษนั้นรูปร่างไม่ใช่เทวดาถอดรูป แต่หวังใจว่าคงจะเข้าลักษณะขุนช้าง คือ ถึงรูปชั่วใจช่วงเหมือนดวงเดือน”